Green Outing คือการสัมมนาในรูปแบบของการทำ CSR โดยเน้นการทำกิจกรรมร่วมกันโรงเรียน ชุมชน วัด มูลนิธิ และพื้นที่ป่า ให้สร้างประโยชน์ คืนความสุขให้กับสังคม ด้วยแนวคิด “มอบรอยยิ้ม อิ่มใจ สร้างความสุข ” :ซึ่ง HR Teamwork รับจัด CSR กิจกรมปลูกป่า โรงเรียน วัด เครือข่ายชุมชน
CSR คืออะไร ?
“Corporate Social Responsibility (CSR) หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร
CSR เป็นเครื่องมือที่โลกตะวันตกคิดขึ้นสำหรับใช้ควบคุมหรือถ่วงดุลลัทธิทุนนิยม ไม่ให้มุ่งกำไรจนสุดขั้วเกินไป จนหย่อนด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบทางสังคม เป็นกลไกควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจข้ามชาติ ให้ต้องประพฤติปฏิบัติในลักษณะที่แสดงความรับผิดชอบทางสังคมในหลากหลายมิติ
ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการทำ CSR เป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารทางการตลาด ซึ่งสามารถสร้างภาพลักษณ์และการประชาสัมพันธ์องค์กรได้อีกวิธีหนึ่ง ** รับจัด CSR กิจกรมปลูกป่า โรงเรียน วัด เครือข่ายชุมชน
สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
ระดับ 1 ข้อกำหนดตามกฎหมาย คือการปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้กฎหมายแรงงานของ Blue river บริษัทผลิตผลไม้ออร์แกนิกไทยที่ใส่ใจดูแลพนักงานอย่างเอาใจใส่
ระดับ 2 ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ คือการคำนึงถึงการอยู่รอดและให้ผลตอบเเทนแก่ผู้ถือหุ้นโดยไม่เบียดเบียนสังคม เช่น การดูแลสวัสดิการพนักงานของบริษัท Blue Elephant แบรนด์ภัตตาคารและเครื่องแกงที่มีจำหน่ายกว่า 20 ประเทศทั่วโลก
ระดับ 3 จรรยาบรรณทางธุรกิจ คือสามารถสร้างผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นและผู้ประกอบธุรกิจได้ พร้อมตอบแทนประโยชน์เพื่อสังคมมากขึ้น เช่น การผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมของ Panpuri ผลิตภัณฑ์สปาไทยที่โรงแรมชั้นนำระดับโลกเลือกนำไปใช้
ระดับ 4 ความสมัครใจ คือการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการปฏิบัติตามเเนวทางของ CSR ด้วยความสมัครใจ เช่น การปลูกป่า การช่วยเหลือผู้ประสบภัย ก่อตั้งมูลนิธิ การบริจาคของบริษัท เพ็ท โฟกัส บริษัทผลิตอาหารสัตว์ในเครือเบทาโกร
แม้การทำ CSR จะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาดในหลายองค์กร แต่จะต้องวางกลยุทธ์ให้ดี ไม่ให้ผู้อื่นรู้สึกได้ว่าถูกยัดเยียดหรือสร้างภาพลักษณ์มากจนเกินไป ที่สำคัญองค์กรต่างๆ ควรทำด้วยใจ เพราะไม่เพียงสร้างผลประโยชน์แก่องค์กรเท่านั้น แต่ชุมชน มูลนิธิ หรือคนอื่นๆ ก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วย
สำหรับการทำ CSR ที่ดีนั้นจะต้องสร้างความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ ที่สำคัญควรจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้การทำ CSR นั้นเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาดได้ ที่สำคัญสามารถสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างภาพลักษณ์ในสายตาคนทั้งโลกได้อย่างแยบยล
เมื่อทำ CSR แล้วการไปป่าวประกาศให้คู่ค้าทางธุรกิจทราบว่าองค์กรของตนทำ CSR คงเป็นกลยุทธ์ที่ไม่เนียนเท่าใดนัก ดังนั้นจึงต้องประกาศผ่านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่างๆ ซึ่งต้องยอมรับว่าจะต้องใช้เงินเข้ามาช่วย ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงออกตัวช่วยที่จะทำให้คู่ค้าทางธุรกิจของเราทราบในทันทีว่าองค์กรเราผ่านการทำ CSR มานั้นก็คือการตีตราการันตี T Mark หรือ Thailand Trust Mark นั่นเอง
ระดับของ CSR
ระดับ 1 Mandatory Level: ข้อกำหนดตามกฎหมาย หมายถึง การที่ธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, กฎหมายเเรงงาน, การจ่ายภาษี เป็นต้น
ระดับ 2 Elementary Level: ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง การที่ธุรกิจคำนึงถึงความสามารถในการอยู่รอดและให้ผลตอบเเทนแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งกำไรที่ได้นั้นต้องมิใช่กำไรซึ่งเกิดจากการเบียดเบียนสังคม
ระดับ 3 Preemptive Level: จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง การที่ธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสมและผู้ประกอบธุรกิจได้ใส่ใจเพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนเเก่สังคมมากขึ้น โดยเฉพาะสังคมใกล้ที่อยู่รอบข้างที่มีความคาดหวังว่าจะได้รับการดูเเล หรือเอาใจใส่จากผู้ประกอบธุรกิจ
ระดับ 4 Voluntary Level: ความสมัครใจ หมายถึง การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการปฏิบัติตามเเนวทางของ CSR ด้วยความสมัครใจไม่ได้ถูกเรียกร้องจากสังคม ซึ่งการประกอบธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ธุรกิจต้องดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับ 1 เป็นอย่างน้อย ส่วนการดำเนินการในระดับต่อไปให้ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละองค์กร โดยหลักสำคัญของการปฏิบัติตามเเนวทาง CSR ควรอยู่บนหลักพอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และขณะเดียวกันก็ต้องไม่เบียดเบียนสังคม
อ้างอิง ธุรกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคม และบทบาทของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
…………………………………..
CSR มีทั้งดีและไม่ดี บางบริษัทก็สร้างภาพเอาเพียงเพื่อให้ผ่าน ISO บางบริษัทก็ทำจริง
คงจะไม่สามารถตัดสินกันได้โดยง่าย และหากใครเขาจะทำแค่ในระดับความรับผิดชอบที่โดนบีบบังคับให้ทำ ก็คงจะไปว่าอะไรเขาไม่ได้ เพราะ CSR คือกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรแสวงผลกำไร ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ และองค์กรเหล่านี้ไม่ใช่องค์กรเพื่อสังคมอยู่แล้ว
ขอเพียงแค่องค์กรภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคม ยอมให้ความร่วมมือในระดับที่ 1 อย่างน้อยก็เป็นการทำให้เกิดกระแสสังคม อย่างน้อยที่สุด บริษัทนั้นก็ได้มีการดำเนินงานไม่ให้กระบวนการผลิตของตนเองส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก็ถือว่าเป็นที่ยอมรับได้แล้ว แต่ถ้าหากจะมุ่งมั่นตั้งใจคืนกำไรให้สังคมจริงๆ ก็สุดแล้วแต่ใจของผู้บริหารองค์กรนั้น
มันขึ้นอยู่กับความจริงใจ โดยผู้ที่มีส่วนร่วมกับ CSR ขององค์กรนั้น จะเป็นผู้พิจารณาได้เองว่าการดำเนินงานในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือการมีส่วนร่วมกับสังคมของบริษัทนั้นๆ มีการดำเนินงานถูกต้องตามหลักการหรือไม่ และมุ่งหวังที่จะทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคมจริงหรือไม่
ประเภทของ CSR
In process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อมขององค์กร เช่น การดูแลสวัสดิการพนักงาน, การผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม,ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
After process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรโดยตรง เช่น การปลูกป่า, การบริจาคทุนการศึกษา,การรณรงค์สร้างจิตสำนึก, การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
As Process หมายถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น มูลนิธิ หรือ สมาคมการกุศลต่างๆ
หลักแนวคิดของ CSR
1. การกำกับดูเเลกิจการที่ดี
2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
3. การเคารพสิทธิและการปฎิบัติต่อเเรงงานอย่างเป็นธรรม
4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
6. การดูเเลรักษาสิ่งเเวดล้อม
7. การเผยเเพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
ที่มา
https://www.marketingoops.com
http://61-90-231-85.static.asianet.co.th/mttslibrary/index.php/2015-05-29-16-17-20
อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม https://www.facebook.com/EPV.or.th